วันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561

“เถิงเมื่อเดือนสามได้จงพากันทำเข้าจี่ ไปถวายสงฆ์เจ้าเอาแท้หมู่บุญ” บุญเดือนสามบุญข้าวจี่

                              


ประเพณีบุญข้าวจี่





 บุญข้าวจี่ เป็นงานบุญประเพณีของชาวอีสาน ที่กระทำกันในเดือนสาม จนเรียกว่า บุญเดือนสาม บุญข้าวจี่เป็นบุญประเพณีสำคัญที่มีกำหนดอยู่ในฮีตสิบสอง ดังรู้จักกันทั่วไปว่า เดือนสามคล้อยจั่วหัวปั้นข้าวจี่ เดือนสี่คล้อยจัวน้อยเทศน์มะที (มัทรี)
บุญข้าวจี่นิยมทำกันในราวกลางเดือนหรือปลายเดือนสาม  คือ  ภายหลังการทำบุญวันมาฆบูชา  (เดือนสาม ขึ้น ๑๔ ค่ำ) แล้ว ส่วนใหญ่จะกำหนดวันแรม ๑๓ ค่ำ และ ๑๔ ค่ำ เดือนสาม บุญข้าวจี่เป็นกิจกรรมร่วมของชุมชนหลายหมู่บ้าน นั่นคือ ชาวอีสานบางหมู่บ้านเรียกงานบุญนี้ว่า บุญคุ้ม จะทำกันเป็นคุ้ม ๆ หรือ บางหมู่บ้านก็จะทำกันที่วัดประจำหมู่บ้าน ล้วนแล้วแต่เป็น บุญข้าวจี่ หรือบุญเดือนสามนั่นเอง ชาวบ้านที่เป็นเจ้าภาพก็จะบอกบุญไปยังหมู่บ้านใกล้เคียงให้มาร่วมกันทำบุญ

ข้าวจี่ คือ ข้าวเหนียวนึ่งให้สุกแล้วนำมาปั้นเป็นก้อนทาเกลือเคล้าให้ทั่ว เอาไม้เสียบย่างไฟเหมือนไก่ย่าง เมื่อข้าวสุกเกรียมแล้วก็เอาไข่ซึ่งตีไว้แล้วทาแล้วย่างซ้ำอีกกลายเป็นไข่เคลือบข้าวเหนียว เสร็จแล้วถอดไม้ออกแล้วเอาน้ำอ้อยหรือน้ำตาลที่เป็นก้อนยัดใส่แทนกลายเป็นข้าวเหนียวยัดไส้ แล้วถวายพระเณรฉันตอนเช้า

ส่วนมากชาวบ้านจะรีบทำแต่เช้ามืด พอสว่างก็ลงศาลาการเปรียญ (ชาวบ้านเรียกหัวแจก) นิมนต์พระเณรสวดแล้วฉัน เป็นทั้งงานบุญและงานรื่นเริงประจำแต่ละหมู่บ้าน เพราะได้ทำข้าวจี่ไปถวายพระหลังจากพระฉันแล้วก็เลี้ยงกันเองสนุกสนาน มีคำพังเพยอีสานว่า
“เดือนสามค้อยเจ้าหัวคอยปั้นเข้าจี่ เข้าจี่บ่ใส่น้ำอ้อยจัวน้อยเช็ดน้ำตา”
เดือนนี้ชาวนาส่วนใหญ่ถือกันตั้งแต่โบราณมาว่าเป็นเดือนสู่ขวัญข้าว คือมีการถวายข้าวเปลือกพระและนิยมทำบุญบ้าน สวดมนต์เสร็จพิธีสงฆ์ แล้วก็สู่ขวัญข้าวตามธรรมเนียมพราหมณ์ บางบ้านก็ทำเล็กน้อยพอเป็นพิธี คือเอาข้าวไปถวายสงฆ์แล้วทำพิธีตุ้มปากเล้าเล็กน้อยเป็นการบูชาคุณของข้าวในเล้าหรือยุ้ง
“เถิงเมื่อเดือนสามได้จงพากันทำเข้าจี่ ไปถวายสงฆ์เจ้าเอาแท้หมู่บุญ”


ประวัติความเป็นมาประเพณีบุญข้าวจี่
มูลเหตุที่ทำบุญข้าวจี่ในเดือนสาม เนื่องจากเป็นเวลาที่ชาวนาได้มีการทำนาเสร็จสิ้น  ชาวนาได้ข้าวขึ้นยุ้งใหม่จึงอยากร่วมกันทำบุญข้าวจี่ถวายแก่พระสงฆ์  สำหรับมูลเหตุดั้งเดิมที่มีการทำบุญข้าวจี่ มีเรื่องเล่ากันตามความเชื่อว่า  ในสมัยพุทธกาล นางปุณณะทาสี  ได้ทำขนมแป้งจี่ถวายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอานนท์เถระ  ครั้นถวายแล้วนางคิดว่าพระองค์คงไม่เสวยและอาจเอาทิ้งให้สุนัขหรือกากิน เพราะ อาหารที่นางถวายไม่ประณีตน่ารับประทาน
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบภาวะจิตของนางปุณณะทาสี  จึงรับสั่งให้พระอานน์ปูลาดอาสนะแล้วทรงประทับนั่งฉันท์  ณ  ที่นางถวายนั้น เป็นผลให้นางเกิดปีติยินดีเป็นอย่างยิ่งและเมื่อนางได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงก็บรรลุโสดาบันปัตติผลด้วยอานิงสงฆ์ที่ถวายขนมแป้งจี่  ชาวอีสานจึงเชื่อในอานิสงส์ของการทานดังกล่าวจึงพากันทำข้าวจี่ถวายทานแด่พระสงฆ์สืบต่อมา


เดือนสามบุญข้าวจี่
บุญข้าวจี่ซึ่งมักจะเป็นวันเพ็ญเดือนสาม ทุกครัวเรือนในหมู่บ้านจัดเตรียมข้าวจี่ แล้วนิมนต์พระสงฆ์มารวมกันที่ศาลาโรงธรรมญาติโยมจะมาพร้อมกันแล้วอาราธนาศีล ว่าคำถวายข้าวจี่เส็จแล้วเอาข้าวจี่ไปใส่บาตร พระสงฆ์สวดมนต์จบแล้ว ญาติโยมยกอาหารคาวหวานไปถวายพระฉันเสร็จแล้วอนุมโทนาเป็นการเสร็จพิธีถวายข้าวจี่ ในปัจจุบันชาวบ้านนอกจากจะทำบุญข้าวจี่แล้วยังทำบุญมาฆบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง วันมาฆบูลานี้ตรงกับวันเพ็ญเดือนสามเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพระทูทธศาสนา 4 ประการคือ
1. เป็นวันเพ็ญเดือนสาม ดวงจันทร์เสยวมาฆฤกษ์
2. พระสงฆ์ จำนวน 1,250 รูป มาประชุมกันที่เวฬุวันมหาวิหารโดยมิได้นัดหมายกันล่วงหน้า
3. พระสงฆ์ที่มาประชุมครั้งนี้นล้วนเป็น เอหิภิกขุอุปสัมปทา (ภิกษุที่พระพุทธเจ้าบวชให้)
4. ท่านเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์


ขอบคุณข้อมูล เว็บไซต์ #จังหวัดสกลนคร

  นมโคสดแท้ 100% ไม่ผสมนมผง

สวนสัตว์ขอนแก่น แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต


ครัวเพื่อน ริมบึงแก่นนคร ขอนแก่น /ร้านอาหาร/คาราโอเกะ






 

วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2560

T2P INNOVATION หารือแนวทางทำ MOU พร้อมแนะนำการใช้ระบบการจัดการขยะครบวงจร หรือ refusion ที่เทศบาลตำบลพังโคน



T2P INNOVATION หารือแนวทางทำ MOU พร้อมแนะนำการใช้ระบบการจัดการขยะครบวงจร หรือ refusion ที่เทศบาลตำบลพังโคน



T2P INNOVATION

nature is our friend


ชมคลิปกิจกรรมhttps://www.youtube.com/watch?v=iF5Ll357dLc



เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2560 ที่เทศบาลตำบลพังโคน อ.พังโคน จ. สกลนคร นายธวัชชัย ลมัยพันธ์ ประธานกรรมการ และผู้ก่อตั้งบริษัท T2P innovation พร้อมด้วยนายพิพัฒน์พงษ์ ห้องแซง รองประธานบริษัท ผู้จัดการฝ่ายผลิต และนายพงศ์พล นวพงศกร ผู้จัดการฝ่ายการตลาด เดินทางเข้าหารือร่วมกับนายประสาน เสริมสกุล นายกเทศมนตรีตำบลพังโคน และนายสุระชัย ขันชัยภูมิ ปลัดเทศบาลตำบลพังโคน ในการใช้ระบบ การจัดการขยะแบบครบวงจร หรือ refusion (เรฟฟิวชั่น) มาจัดการในโครงการธนาคารขยะของเทศบาลตำบลพังโคน 

โดยมีการแนะนำวิธีการใช้ระบบให้กับเจ้าหน้าที่และผู้นำชุมชน มีนางสุธิดา วภักดิ์เพชร รองปลัดเทศบาลตำบลพังโคน เป็นหัวหน้าคณะทำงานและนายสุระชัย ขันชัยภูมิ ปลัดเทศบาลตำบลพังโคน เป็นที่ปรึกษา

















ซึ่งระบบการจัดการขยะแบบครบวงจร หรือ reffusion (เรฟฟิวชั่น) ของบริษัท T2P innovation เป็นนวัตกรรมสตาร์ทอัพ ในการบริหารจัดการขยะ ให้มีประสิทธิภาพ สะดวก ทันสมัย มีความปลอดภัยสูงและตรวจสอบได้








ทั้งนี้ทางผู้บริหารบริษัท T2P innovation ได้หารือกับผู้บริหารเทศบาลตำบลพังโคน ถึงแนวทาง ในการทำ MOU ร่วมกับเครือข่าย ระหว่างเทศบาลตำบลพังโคน ชุมชน สถานศึกษา สถาบันการเงินและ T2P innovation เพื่อให้การดำเนินงานของโครงการธนาคารขยะของเทศบาลตำบลพังโคน มีประสิทธิภาพ และเทศบาลตำบลพังโคน จะเป็นแห่งแรกและต้นแบบของประเทศในการใช้ระบบ การจัดการขยะแบบครบวงจร reffusion (เรฟฟิวชั่น) นี้ด้วย











#ขยะพลังงาน
#T2Pinnovation
#reffusion



วันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2560

สะออนแฮง สะออนหลาย ขายจิ้งหรีดได้เงินล้าน


สะออนแฮง สะออนหลาย ขายจิ้งหรีดได้เงินล้าน



 ชาวบ้าน บ้านแสนตอ หมู่ 8 ต.บัวใหญ่ อ.น้ำพอง จ. ขอนแก่น มีรายได้ทั้งหมู่บ้านเดือนละกว่าล้านบาท จากการเลี้ยงจิ้งหรีดและแมงสะดิ้งขาย 




พ่อเพ็ชร วงศ์ธรรม ผู้ใหญ่บ้าน บ้านแสนตอ หมู่ 8 นำชาวบ้านเลี้ยงจิ้งหรีดกว่ามาเกือบ 10 ปี ชาวบ้านของหมู่บ้านมี 99 ครัวเรือน เลี้ยงจิ้งหรีด 66 ครัวเรือน โดยทุกๆ 45 วันชาวบ้านจะมีรายได้ครัวเรือนละแสนกว่าบาท




                           

                                      นมโคสดแท้ 100% ไม่ผสมนมผง




สายพันธุ์ที่ชาวบ้านเลี้ยงมี 2สายพันธุ์ คือ จิ้งหรีดทองดำ และจิ้งหรีดทองแดงลาย หรือ แมงสะดิ้ง เกษตรกรนิยมเลี้ยง เพราะรสชาติดี หอมมัน เมื่อโตเต็มวัย ลำตัวกว้างประมาณ 0.5 - 0.6 ซม. ยาวประมาณ 2.5 – 3 ซม. เคลื่อนที่ได้ว่องไว ชอบอาศัยตามกองไม้ กองใบไม้ ร่องดิน ออกหากินในเวลากลางคืน และไม่ขุดรูอาศัย
โดยชาวบ้านจะวางรังไข่ไว้เพื่อจิ้งหรีดได้หลบภัย และ แยกส่วนกันเพื่อไม่ให้จิ้งหรีดกัดกันเองในช่วงลอกคราบ




สวนสัตว์ขอนแก่น แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต


ซึ่งการเลี้ยงจิ้งหรีดนี้ผู้สูงอายุหรือผู้เฒ่าผู้แก่ก็สามารถเลี้ยงได้ ไม่ต้องตากแดด งานไม่หนัก ลูกค้าก็มารับจิ้งหรีดถึงบ้านในราคากิโลกรัมละ 100 - 150 บาท
และยังมีรายได้เพิ่มจากการขายมูลของจิ้งหรีด ที่นำไปเป็นปุ๋ยใส่ข้าว อ้อย มันสำปะหลังและพืชอื่นๆ ที่ทำให้ผลผลิตเติบโตเจริญงอกงามดีอีกด้วย
ทั้งนี้พ่อเพ็ชร วงศ์ธรรม ผู้ใหญ่บ้าน ได้นำชาวบ้านแปรรูปจิ้งหรีดเป็นน้ำพริกเผาและน้ำพริกตาแดง จำหน่าย ในชื่อ อ.แสนตอ ช่วยเพิ่มมูลค่าจิ้งหรีดของชาวบ้านแสนตอแห่งนี้อีกช่องทางหนึ่ง





ร้านอาหารครัวเพื่อน ริมบึงแก่นนคร ขอนแก่น
สุดยอดยำปลาดุกฟู
จิ้งหรีดมีคุณค่าทางอาหารสูง ในจิ้งหรีด 100 กรัม มีปริมาณโปรตีน เท่ากับ 18.6 กรัม ซึ่งเทียบเท่ากับปริมาณโปรตีนที่มีในเนื้อหมู เนื้อไก่ และปลาทู นอกจากนี้ยังมีปริมาณกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด
จิ้งหรีดสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง วันนี้ชาวบ้านได้ทำจิ้งหรีดทอดหลากรสมาให้ทีมงานเล่าข่าวชาวเกษตรได้ลิ้มรสกัน อาทิ รสปาปริก้า รสสาหร่าย และรสดั้งเดิม กินคู่กับส้มตำจนติดใจกินกันไม่หยุดปากเลยทีเดียว










#สวนสัตว์ขอนแก่น

#นมโคสดแท้ 100% ไม่ผสมนมผง
#นมไทยเดนมาร์ค
#จิ้งหรีดเงินล้าน


🌻🌻
🌾🌾 🌾🌾